The Storytelling Canvas เทคนิคการเล่าเรื่องจาก Godfather of Marketing

The Storytelling Canvas ในงาน CTC2023 บรรยายโดยพี่ตูน สุธีรพันธุ์ สักรวัตร CCO (Chief Customer Officer) จาก SCBX โดย Canvas อันนี้เป็นเหมือนตำราที่พี่ตูนคราฟท์ขึ้นมาใช้ในการทำงานและบรรยาย

Session นี้คนเยอะมากจนที่นั่งเต็ม ผู้ฟังส่วนหนึ่งต้องยืนด้านข้างและด้านหลัง


Classic Human Bullshits

ทุกมิติของมนุษย์เต็มไปด้วยศาสตร์ของ Storytelling

พี่ตูนยกบทสนทนาในการประชุมผู้บริหารกับ คุณ Dennis CTO จาก SCBX คุยกันเรื่องลูก แกบอกว่าลูกชายชอบดูดาวมาก ช่วงนี้จะไฮป์เป็นพิเศษเพราะเป็นช่วงที่มี cosmic trio กลุ่มดาวสำคัญที่มองเห็นบนท้องฟ้าพร้อมกันได้ด้วยตาเปล่า

พี่ตูนยกตัวอย่างรูปกลุ่มดาวเดือน June พรีเซนต์ด้วยรูปกลุ่มดาวแฝด จากรูปดาวที่มองไม่เห็น ค่อยๆ ลากเส้นเป็นรูปคนคู่ จากนั้นวางภาพด้วยนักรบกรีกในตำแหน่งเดียวกันในเส้น คนซ้ายเป็นมนุษย์กึ่งเทพมีพลังเป็นอมตะ คนขวาเป็นน้องชายเป็นมนุษย์ธรรมดา คนน้องเสียชีวิตในสงคราม ทอรัสเลยไปขอพ่อ (Zeus) ให้ชุบชีวิตน้อง เลยได้เกิดเป็นกลุ่มดาว

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงกลุ่มดาวบนท้องฟ้า แต่มนุษย์สร้างเรื่องราวมากมายจากสิ่งนี้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด


The Storytelling Canvas

พี่ตูนให้ความนิยามว่า Story คือความสัมพันธ์ระหว่างขั้วตรงข้ามของบางสิ่ง ความดี ความร้าย, ชัยชนะ-การยอมแพ้, ผู้นำ-ผู้ตาม, กล้าหาญ-ขี้ขลาด, เรา-เขา, ถูก-ผิด ยกตัวอย่างการเล่าเรื่องจากหนัง Extraction 2 แล้ว mapping ใส่บน Canvas

  • What if > some world time and place โดยเล่าเจาะจง object ให้เข้าใจง่าย เห็นภาพชัดเจน
  • Some World > setting ให้เห็นภาพชัดเจน ผู้รับสารจินตนาการออกได้ เช่นเราบอกว่าถนนเหม็นอย่าจบแค่นี้ ต้องขยายต่อว่าถนนนั้นเสื่อมทราม เต็มไปด้วยความสกปรก มีน้ำเน่า มีหนู ผู้ชมเข้าใจได้ทันที
  • Main Character > เล่าให้ชัดถึงความไม่สมบูรณ์แบบ ติดลบ และทำให้เห็นว่าความต้องการของเค้าคืออะไร ให้เห็นถึงความเป็นไปไม่ได้ ยิ่ง Gap ห่าง ยิ่งมีความเท่
  • Incling Incident > จุดเปลี่ยนจากชีวิตราบเรียบที่ทำให้ชีวิตสะดุด
  • Therefore > Falling ทำให้ตัวเอกตกลงไปในจุดที่ไม่เจอมาก่อน จุด twisst จุดพลิกผัน ครั้งแรกมักให้เป็นจุดที่จะสู้หรือหนี ครั้งแรกแนะนำให้เป็นจุดที่พลาดหนัก ตัดสินใจผิด > need บางอย่างที่ทำให้ผ่านจุดนี้ หรือไปยัง goal ได้
  • Stake > การเดิมพัน สิ่งที่ผู้ชมรู้สึกว่าเค้าต้องดิ้นรนเพื่อเดิมพันอะไรบางอย่างบน Therefore
  • Climax > จุด last battle
  • Resolution > Lived happily ever after อาจจะไม่ใช้ want ที่ต้องการก็ได้
  • Story Value Sum of Needs > เรื่องเล่าที่ดีส่วนใหญ่ ทิ้ง want แล้วพบ need ที่ค้นพบระหว่างทาง ยิ่งทำให้เรื่องราวมีความหมาย

พี่ตูนแนะนำว่าให้ลองฝึกใช้โดยนำเรื่องราวใกล้ตัว mapping กับ canvas นี้ เช่นจากการดูหนัง, การจดบันทึกเรื่องราว, การทำงาน เพื่อให้นำไปใช้งานได้คล่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


The psychology of curiosity ‘Mystery Box’

พยายามมองหาเรื่องที่เป็นขั้วตรงข้ามหรือความต่าง ความเป็นไปไม่ได้ ความน่าค้นหา เพื่อให้คนสนใจอยากติดตามเรื่องราว เช่น

  1. นำเสนอคำถามหรือ puzzle ทิ้งปริศนาบางอย่างที่คนฟังสงสัยเอาไว้ ชนิดที่ว่า เขาจะนอนไม่หลับจนกว่าจะได้คำตอบ
  2. ทิ้งเรื่องราวตอนจบด้วยความคาใจ ให้มีความคันอยากรู้เรื่องราวต่อ
  3. ทำให้เกิดการคาดการณ์ที่ไม่เป็นไปอย่างที่คิดไว้ จนผู้รับสารต้องการคำอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น
  4. ทิ้งความรู้หรือปริศนาไว้ที่ตัวละครสำคัญสักคนหนึ่ง คือต้องไปเจอหรือทำอะไรบางอย่างกับคนนี้เพื่อให้ได้คำตอบ

การที่สมองส่วน Neocortex พบเจอเรื่องราวที่ไม่ปกติหรือไม่สมบูรณ์ ทำให้มนุษย์เกิดจินนาการความอยากรู้อย่างเห็น และยิ่งมีความเชื่อมโยงกับผู้รับสารเท่าไรเรายิ่งสนใจ เหมือนไปงานปาร์ตี้ที่เสียงดังมาก แต่ถ้าได้ยินคนพูดอะไรขึ้นมาคำหนึ่งที่เป็นคำที่เราฟังออก เราคุ้นเคย หรือเรากำลังคิดเรื่องนั้นอยู่ สมองจะโฟกัสไปที่ส่วนนั้นจนเราฟังออกแม้มีเสียงดังภายนอกรบกวน (เหมือน noise cancelling เลยแหะ)

ขอบคุณอาหารสมองชั้นพรีเมี่ยมจากงาน CTC2023 ครับ

A glasses man who builds websites, is interested finances and is extremely excited with new technology.